การไทเทรต

 

เป็นวิธีการหาปริมาณของสารละลายมาตรฐาน (Standard Solution)

สารที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน โดยให้ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายที่ไม่ทราบความเข้มข้นแต่ทราบปริมาตร

(Unknown sample) และใช้การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์เป็นเกณฑ์ในการบอกจุดยุติ (End Point) เมื่อกรดและเบส

ทำปฏิกิริยากันพอดีกันตามจุดสมมูล (Equivalent Point) ก็จะทราบปริมาตรของสารละลายมาตรฐานแล้วนำค่าที่ได้

ไปคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายอื่นได้

จุดยุติ (End Point) คือจุดที่กรดกับเบสทำปฏิกิริยาพอดีกันโดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของ

อินดิเคเตอร์

จุดสมมูล (Equivalent Point) หรือจุดสะเทิน คือจุดที่กรดกับเบสทำปฏิกิริยาพอดีกันตามสมการ

ที่ดุลแล้วโดยกรด-เบสหมด เหลือเกลือกับน้ำ

pH ของปฏิกิริยาสะเทิน ปฏิกิริยาสะเทินจุด pH ไม่จำเป็นต้องเท่ากับ 7 แต่จะขึ้นอยู่กับชนิดของ

กรดเบสดังนี้

ในการไทเทรตกรดเบส ใช้กรด-เบสอินดิเคเตอร์บอกจุดยุติระหว่างกรด-เบส โดยอินดิเคเตอร์

ที่เหมาะสมจะเปลี่ยนสีที่จุดสมมูล ดังนั้นควรเลือกอินดิเคเตอร์ที่เปลี่ยนสีตรงช่วงจุดสมมูลหรือใกล้เคียงมากที่สุด

เครื่องมือและอุปกรณ์ในการไทเทรต

ขวดวัดปริมาตร ปิเปตต์ ขวดรูปชมพู่ บิวเรต

รูปที่ 9- 10 : เครื่องมือและอุปกรณ์ในการไทเทรต

ที่มา : http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/science/scienceteachers/sunisa/content/tritrate.htm

รูปที่ 11 : แสดงการอ่านค่าปริมาตรของเหลว

ที่มา : สุนทร พรจำเริญ เอกสารประกอบการสอนเรื่องกรด-เบส โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

การไทเทรตกรดแก่กับเบสแก่

จุดสมมูลของสารละลายจะมี pH= 7 เช่นการไทเทรต HCl เข้มข้น 0.10 mol dm-3

ปริมาตร 25 cm3 กับ NaOH เข้มข้น 0.10 mol dm-3 ซึ่งจะได้กราฟของการไทเทรตดังนี้

กราฟของการไทเทรตระหว่างกรดแก่และเบสแก่

รูปที่ 12 : กราฟของการไทเทรตระหว่างกรดแก่และเบสแก่

(ที่มา: http://wps.prenhall.com/wps/media/objects/602/616516/Chapter_16.html)

การไทเทรตกรดอ่อนกับเบสแก่

เช่น การไทเทรต NaOH เข้มข้น 0.10 mol dm-3 กับ CH3COOH เข้มข้น 0.10 mol dm-3

ปริมาตร 50 cm3 ที่จุดสมมูล pH ของสารละลายจะมากกว่า 7 ซึ่งจะได้กราฟของการไทเทรตดังนี้

กราฟของการไทเทรตระหว่างกรดอ่อนและเบสแก่

รูปที่ 13 : กราฟของการไทเทรตระหว่างกรดอ่อนและเบสแก่

(ที่มา: http://wps.prenhall.com/wps/media/objects/602/616516/Chapter_16.html)

การไทเทรตกรดแก่กับเบสอ่อน

เช่น การไทเทรต NH3 เข้มข้น 0.10 mol dm3 ปริมาตร 50 cm3 กับ HCl เข้มข้น 0.10 mol dm-3

ที่จุดสมมูล pH ของสารละลายจะน้อยกว่า 7 ซึ่งจะได้กราฟของการไทเทรต ดังนี้

รูปที่ 14 : การไทเทรตกรดแก่กับเบสอ่อน

(ที่มา: http://wps.prenhall.com/wps/media/objects/602/616516/Chapter_16.html)

ไม่นิยมการไทเทรตกรดอ่อนกับเบสอ่อน เพราะช่วง pH เปลี่ยนแปลงสั้นมากทำให้การคำนวณ

ผิดพลาดการคำนวณการไทเทรตกรด-เบส คำนวณโดยใช้สูตร

กิจกรรมเสริมความรู้…การทดลองเรื่อง การไทเทรต กรด-เบส

คลิกที่รูปเพื่อทำการทดลอง..ลองทำดูหนูทำได้

ใส่ความเห็น